วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ทริป World Expo 2017 Future Energy ที่กรุง Astana Kazakhstan ตอนที่หนึ่ง

Expo 2017
กี่ยวกับการศึกษาดูงาน
การศึกษาดูงานนี้อยู่ในช่วงวันที่ 6 กันยายน 2560 ถึงวันที่ 9 กันยายน 2560 ที่กรุงอัตตานา สาธารรัฐคาซัคสถาน การศึกษาดูงานนี้ได้รับเชิญจาก Index creative village และโดยความร่วมมือของคุณประเจต อดีตที่ปรึกษารัฐบาลไทยในการจัด ​Thai Pavillion ในงาน World Expo หลายสมัย
อันเพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะของการทำงาน World Expo เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเสนองานใน World Expo 2020 ที่ประเทศดูไบ ต่อไป
เกี่ยวกับ งาน World Expo
งาน World Expo เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อโชว์เทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ และของโลก โดยเริ่มจัดในครั้งแรกในปี ค.ศ.1851 ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ และครั้งต่อมาที่ประเทศฝรั่งเศส โดยหอไอเฟิล ก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างของโลกที่สร้างขึ้นในงาน World Expo ภายหลังก่อตั้งเป็นสำนักงาน มหกรรมโลก (Bureau International des Exposition) หรือ ​BIE โดยประเทศสมาชิกจะเวียนกันจัด โดยงาน Expo ที่จัดและได้รับการรับรองโดย BIE ก็มีหลายขนาด  ขนาดใหญ่ที่สุดจัดทุกห้าปี จัดความยาวครั้งละไม่เกินหกเดือน และไม่จำกัดพื้นที่จัด ซึ่งครั้งสุดท้ายจัดไปที่ประเทศอิตาลี ที่กรุงมิลานในปี 2015 และครั้งต่อไปคือจัดที่ ประเทศดูไบ ปี 2020 ซึ่งงานใหญ่นี้เรียกว่าระดับ International Registered Exibition

ส่วนงาน world expo ที่คาซัคสถานในปีนี้ เป็นงาน ระดับ International Recogised Exibition จัดขึ้นระหว่างงาน Expo ใหญ่สองงาน ซึ่งอย่างครั้งนี้ปี 2017 ก็จัดระหว่างปี 2015 กับปี 2020  โดยข้อแตกต่างจากงาน Registered Exibition คืองาน Recogised Exibition  คือ งาน Recoginsed Exibition จัดครั้งละไม่เกินสามเดือน และพื้นที่จัดงานไม่เกิน 250,000 ตารางเมตร รวมถึงต้องเว้นช่วงห่างจากงานใหญ่ครั้งที่แล้วอย่างน้อยสองปี  อย่างเช่นงานที่อิตาลีจัดในปี 2015 งานครั้งนี้ก็ต้องจัดปี 2017 เป็นต้น

สำหรับงาน Astana Expo 2017 นี้ จัดภายใต้หัวข้อหลักคือ พลังงานแห่งอนาคต หรือ Future Energy มี Pavillion มากกว่า 100 พาวิลลเลียน ภายใต้พื้นที่จัดงาน กว่า 1000 ไร่

เกี่ยวกับประเทศ สาธารณรัฐคาซัคสถาน
สาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียกลาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเก่า  เพิ่งได้รับเอกราชมาเมื่อไม่ถึงสามสิบปีนี้  ประเทศสารธารณรัฐคาซัคสถานเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับเก้าของโลก แต่มีประชากร ประมาณสิบเจ็ดล้านคน และประชาชนก็มีหลายเชื้อชาติ ผสมผสานมองโกล กับชาวยุโรป  และชาวมุสลิม  เรียกได้ว่าประเทศนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมาก  และภาษาที่ใช้ทางราชการก็คือภาษา คาซัค และภาษารัสเซีย  คนที่นี่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่องครับ

โดยตั้งแต่แยกประเทศออกมาก็มีผู้นำคือประธานาธิปบดีนาซาร์ บายิฟ มาโดยตลอดและเป็นผู้ริเริ่มความคิดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุง Almaty มาที่กรุง Atana ซึ่งเป็นเมืองที่จัด Expo นั้นเอง  
ส่วนหนึ่งในการที่ BIE เลือก Atana เป็นที่จัดงาน ก็อาจจะเป็นเพราะว่า Atana สามารถนำเสนอได้ว่า การจัด World Expo นั้นมีความสำคัญในการพัฒนาเมืองของเขาได้อย่างไรบ้าง โดยเมือง Atana ก็เเป็นเมืองที่สร้างมาใหม่ได้ไม่นานจริงๆ  แม้แต่ในขณะจัดงาน Expo นั่น เมืองบางส่วนก็เหมือนยังสร้างอยู่
การเดินทางไป Astana จากประเทศไทยนั้นมีสายการบินตรงสัปดาห์ละสองเที่ยว การเดินทางใช้เวลาบินประมาณ แปดชั่วโมง แต่การไปค่อนข้างยุ่งยาก ตอนที่ต้องทำวีซ่า  เพราะการทำวีซ่านั้นต้องมีใบเชิญ หรือ invitation letter มาจากบริษัทที่ สาธารณรัฐคาซัคสถานมาก่อน ถึงจะขอวีซ่าได้  และจากการไปครั้งนี้พบว่าประเทศของเขายังไม่พร้อมรับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกในการติดต่อของนักท่องเที่ยว และในเรื่องการให้บริการ   รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวก็ไม่ค่อยมีเรื่องราวมาก  เพราะทุกที่ล้วนสร้างขึ้นมาใหม่  แต่ข้อดีก็มีคือค่าครองชีพของที่นี่ค่อนข้างถูกกว่าเมืองไทยครับ

Astana ,Kazakhstan
บทความอันแรกนี้เขียนเกี่ยวกับ งาน Expo อย่างเดียว ส่วนเรื่องอื่น เด๋วจะเขียนอีก บทความหนึ่งครับ

การดูงานเริ่มจากส่วนของเจ้าภาพก่อน โดยเข้างานตั้งแต่เก้าโมงครึ่งโดย หน้างาน ไม่มีคิวมาก และการรักษาความปลอดภัยก็ไม่มากมาย

วันแรกที่ไป ท้องฟ้ายังสว่างมาก แต่พอวันที่สองเท่านั้น อากาศเปลี่ยนแปลง ขมุกขมัวแบบนี้ จากอุณภูมิ 28 องศา ลดไปเหลือ 9 องศาเซลเซียส กันเลย  ยิ่งเช้าๆ นี่เหลือ 3 องศา

World Expo 2017 Future Energy

World Expo 2017 Future Energy
มุ่งตรงไปพาวิลเลียนแรก เลยคือของเจ้าภาพ ตรงที่เป็น Sphere กลมๆตรงกลางครับ ทราบว่าเจ้าภาพทุ่มหมื่นล้านบาทในการสร้างพาวิลเลียน ของตัวเองขึ้นมา ภายในประกอบด้วยเจ็ดชั้น และอาคารชั้น ground อีกหนึ่งชัั้น
โดยชั้น ground จะเป็นงานแสดงเกี่ยวกับชาติ ของคาซัคสถาน และงานวิจัยทางด้้้านพลังงานต่างๆที่ นักวิจัยของเประเทศเขาทำอยู่

Astana Expo 2017

ตำนานของ Qazaq บิดาของ ประชาชนชาว คาซัคสถาน  ว่ากันว่า Qazaq แบ่งความมั่งคั่งของเขาออกเป็นสีส่วน โดยสามส่วนเขาได้มอบให้กับลูกสามคน และส่วนที่สี่ได้เก็บไว้เพื่อให้กับผูัมาเยือน โดยตามตำนานของคาซัคสถาน ท่านว่า แขกที่มาเยือนประดุจดังผู้นำสารจากสวรรค์  ซึ่งจะนำโชคดีมาให้กับเจ้าบ้าน
ที่ชั้นหนึ่งยังมี ต้นไม้ Bayterek ซึ่งหมายถึงต้นไม้แห่งชีวิต ที่มีนกชื่อ Samruk นกแห่งความสุข มาวางไข่เอาไว้ 


Astana Expo 2017
ช่วงเช้าไปที่ Sphere ยังคนไม่เยอะมาก แต่คนจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไปสาย เพราะ Hilight ของทุกๆอย่างอยู่ที่นี่เป็นส่วนใหญ่ และเคล็ดลับอีกอย่างคือ ตอนเช้าๆ  Pavillion ข้างนอกก็จะยังไม่แน่นมากเหมือนกัน เพราะเขาจะมาที่ Sphere บูทของเจ้าภาพก่อน แล้วค่อยออกไป Pavillion ของประเทศต่างๆ
จากชั้นหนึ่งก็ขึ้นลิฟท์ไปชั้นเจ็ดซึ่งเป็นชั้นบนสุด แล้วค่อยๆ เดินลงมาเรื่อยๆ ดูงานนิทรรศการทีละชั้นทีละชั้น

Astana Expo 2017
ชั้นบนสุดเป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ พลังงานในบ้าน พลังานในเมือง ที่มาของพลังงานปัจจุบัน และทิศทางพลังงานในอนาคต และความสำคัญของมัน
ชั้นต่อมาเป็นพลังงานจากอวกาศ การสำรวจอวกาศ การกำเนิดจักรวาล  พลังงานไม่สูญสลายไปตั้งแต่จักรวาลก่อกำเนิดขึ้น เพียงแค่มันเปลี่ยนรูปไป

Astana Expo 2017
ลงอีกชั้นเป็นเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์  มีการผสมผสานตำนานของประเทศต่างๆ ที่ว่าด้วยพระอาทิตย์ เข้ากับงานแสดง

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017
ลงมาอีก เป็นพลังงานลม ก็มีอ้างอิงถึงเทพเจ้าลมของแต่ละประเทศอีกเช่นกัน  พระอาทิตย์มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดลม

Astana Expo 2017
ชั้นต่อมาเป็นพลังงานจากสิ่งมีชีวิต เช่นจากมูลสัตว์ จากพืชต่างๆ และดูเหมือนว่าพลังงานจากสาหร่ายจะมาแรงสุด

ลงชั้นล่างจะต่อมาเป็นพลังงาน ศักย์ พลังงานกล  พวกนี้ก็น่าสนใจ พลังานกลก็คล้ายๆกับการปั่นจักรยานแล้วเกิดกระแสไฟฟ้านั่นเอง  พลังงานกลเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าสามารถสร้างทางเดิน หรือทางวิ่งของรถยนต์ที่สร้างกระแสไฟฟ้าได้  ในรูปเป็นการแข่งปั่นจักรยาน เพื่อความเข้าใจเรื่องพลังงานแบบสนุกสนาน

ส่วนชั้นล่างอีก เป็นพลังงานน้ำ ครับ

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017
Astana Expo 2017
Mascot ของ Astana Expo 2017  ผมคิดว่าตัวพระอาทิตย์น่ารักที่สุด

Astana Expo 2017
แค่ Pavilion เดียวก็ไปครึ่งวันแล้วครับ ก็เลยมาทานข้าวที่ร้านอาหารจีน ซึ่งรสชาติจะออกเค็มหน่อย  แต่โดยรวมก็อร่อยดีครับ

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017
ตอนช่วงบ่ายก็ไปอีกหลาย Pavilion ครับ  แต่ไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำเท่าไหร่
ตรง

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017
 อินเดีย ก็มีของมาขาย ครึกครื้นดีครับ
งาน Expo นี่เหมือน แต่ละประเทศเขามาประชาสัมพันธ์ประเทศตัวเอง  เข้าใจว่า Theme เรื่องพลังงาน อาจจะยากสำหรับบางประเทศ  ก็เลยไม่รู้จะเอาอะไรมาแสดง

Astana Expo 2017

ประเทศจีน ต้องต่อคิวเข้าไป  เข้าไปแล้วไม่มีอะไร มีหนังดูเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่า ดูแล้วได้อะไร

Astana Expo 2017
หนึ่งใน Pavilion ที่น่าจดจำ คือ Pavilion ของประเทศญี่ปุ่น และตอนนี้ญี่ปุ่นส่ง Osaka เข้าร่วมประกวดเป็นเจ้าภาพ World Expo 2025  ผมคิดว่า Osaka น่าจะชนะ ครับ ถ้าชนะ โอซาก้าจะจัด Expo นี่เป็นครั้งที่สองแล้ว

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017

Astana Expo 2017
พาวิลเลี่ยนของ สิงคโปร์ มีเทคนิค การนำเสนอเจ๋งๆดีครับ  แต่เนื้อหาก็ไม่รู้ว่ามีอะไรเหมือนกัน

Astana Expo 2017
ประเทศสุดท้ายที่ไปดูในวันแรก คือประเทศฝรั่งเศส  Pavilion ของประเทศนี้ ประเทศนี้จัด Booth สวยดีครับ  สวยแบบ มีสไตล์ และมีเนื้อหาด้วย  เป็นการให้เอกชนสามรายของประเทศมาจัดบูท สามห้อง มีห้องของบริษัทคอนกรีต  ห้องของบริษัท รถยนต์ เป็นต้น

France Pavilion  , Astana Expo 2017

France Pavilion  , Astana Expo 2017
 คอนกรีต ที่แสงส่องผ่านได้  และคอนกรีต ที่มี Internet of thing อยู่ข้างใน

France Pavilion  , Astana Expo 2017

France Pavilion  , Astana Expo 2017
ค่อยมาเขียนต่อตอนหน้าดีกว่าครับ ชักเหนื่อย

link ตอนที่สองมาแล้วครับ

http://www.ichirosblog.site/2017/09/world-expo-2017-future-energy-astana_18.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น