วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทริป หลวงพระบางเมืองมรดกโลก ตอนที่ 3 ที่เที่ยว ที่กินในหลวงพระบาง

วัดเซียงทอง หลวงพระบาง
จากตอนที่หนึ่งและตอนที่สอง ของบทความเกี่ยวกับเมืองหลวงพระบางเมืองมรดกโลก  ตอนนี้ก็มาถึงตอนที่สามที่เป็นตอนสุดท้ายครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่กิน โดยเรียงลำดับตามเวลา ก่อนหลัง ตามที่ผมได้ไปมา

เริ่มจากที่ลงเครื่องบินมา ก็ราวเที่ยงแล้วครับ เราใช้ไกด์ท้องถิ่น พร้อมกับรถ ให้เขามารับที่สนามบิน และก็ใช้ไกด์คนนี้ กับรถคันนี้ทั้งสามวัน ผมแนะนำให้ใช้ไกด์ก็ดีนะครับ ถ้าไปครั้งแรก หรือไปหลายๆคน ก็สะดวกดี และไกด์ก็มีความรู้มากเลยนะครับ ไม่มั่ว อาจเป็นเพราะเราใช้ไกด์บริษัทก็เป็นไปได้

สิ่งแรกที่ไกด์พาไปก็คือพาไปกินข้าว ที่ร้านในรูปครับ  ร้านปากห้วย มีไซ ผมเข้าใจว่าร้านนี้เป็นร้านที่ทัวร์ลงครับ  แต่อาหารอร่อยใช้ได้อยู่ครับ  อาหารที่ลาว พวกปลาน้ำจืด จะอร่อย สดมากครับ

ปากห้วย มีไซ หลวงพระบาง
ผมชอบลาบปลามากๆ เลยครับ  ที่เมืองลาว เขากินผักน้ำ ไกด์บอกผักนี้เก็บมาจากธรรมชาติเลยครับ
ปากห้วย มีไซ หลวงพระบาง
ตัวเมืองหลวงพระบาง และวัดต่างๆ จะอยู่ในแผนที่ด้านล่างตรงหมายเลข 1 ครับ  สถานที่เที่ยวจะอยู่ตามริมแม่น้ำโขง  เราล่องเรือจากน่าน มาลาวได้ด้วยนะครับ ตามแม่น้ำสายนี้

ในแผนที่จะเห็นแม่น้ำสายเล็กๆ สีขาวในแผนที่ นั่นคือแม่น้ำคาน ดังนั้นเมืองหลวงพระบางจึงเหมือนเป็นเกาะ ที่ถูกล้อมโดยแม่น้ำทั้งสองข้าง

จากที่กล่าวในบทความก่อนๆ มาแล้วครับ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองไม่กี่เมืองในโลกที่ได้รับการรับรองจาก UNESCO ว่าผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกโลก แบบทั้งเมือง แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยากมา แต่ทางเทศบาลเมือง ก็ไม่รับนักท่องเที่ยวมั่วๆ เขาจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงควบคุมการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างในเมืองนี้ อย่างเข้มงวด  จุดเด่นของสิ่งปลูกสร้างที่นี่จะเป็นศิลปะเอเชีย ผสานกับศิลปะ ฝรั่งเศสยุคโคโลเนียล  ส่วนจุดเด่นของอาหารที่นี่ ก็คืออาหารเอเชีย ผสมกับศิลปะการทำอาหารยุโรป แบบฝรั่งเศสครับ  ขนมปังของที่หลวงพระบางนี่ก็อร่อยมากๆ  ผมจึงไม่แปลกใจถ้า UNESCO จะบอกว่า หลวงพระบางนั้น คือ The best preserved city in South east Asia

Luang Prabang map
หลังจากที่ไกด์พาไป check in ที่โรงแรมแล้ว เราก็เดินทางไปยังหอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง ที่แต่เดิมเป็นอดีตพระราชวังเก่า ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบคอมมิวนิสต์  ภายในบริเวณ มีอนุสาวรีย์ ของเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว ซึ่งวังนี้ก็เป็นวังของท่านที่ฝรั่งเศสสร้างถวาย

อนุสาวรีย์ เจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวัฒนา
 ภายในพระราชวังเดิม ตอนนี้ถูกทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ยังจัดแสดงห้องต่างๆ สมัยพระเจ้ามหาชีวิต ยังประทับอยู่  นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว ที่แห่งนี้ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน "พระบาง" พระคู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบาง ด้วยครับ  สามารถสักการะ "พระบาง" ได้ที่นี่  ส่วนด้ายหลังพิพิธภัณฑ์มีโรงรถของพระเจ้ามหาชีวิต ที่ยังมีพระราชพาหนะจอดอยู่ให้เข้าชมได้ด้วยครับ

เนื่องจากภายในห้ามถ่ายภาพ ทำให้ไม่สามารถนำภาพมาให้ชมได้ครับ

หอพิพิธภัณฑ์ แห่งชาติหลวงพระบาง
จากนั้นแวะวัดเซียงทองครับ วัดเซียงทอง เป็นวัดที่อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปหน่อย และเป็นวัดที่ไม่ถูกเผาในช่วงที่จีนมาบุก และเผาวัดอื่นๆไป  และนอกจากนั้นวัดนี้ชื่อเดียวกับชื่อเมืองครับ  เมืองหลวงพระบางนี้ ก่อนที่จะมาเป็นชื่อหลวงพระบาง เคยชื่อเชียงทองมาก่อน  

มาวัดเซียงทอง ห้ามพลาด โรงเก็บราชรถพระโกศ หรือโรงเมี้ยนโกศ ที่ปัจจุบันยังคงใช้เก็บราชรถที่เคยอัญเชิญโกศของ พระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

วัดเซียงทอง หลวงพระบาง
 วิหารสีชมพู ประดับด้วยกระจก แสดงภาพชีวิตคนลาวในสมัยก่อน
วัดเซียงทอง หลวงพระบาง
 ด้านหลังพระอุโบสถ

วัดเซียงทอง หลวงพระบาง

หลังจากวัดเซียงทองแล้ว ไกด์ก็พาขึ้น พูสี  เดินขึ้นพูสีเหนื่อยเหมือนกันครับ  แต่ถ้าไม่ได้ขึ้นพูสี ก็เหมือนไปเชียงใหม่ ไม่ขึ้นดอยสุเทพครับ   ที่ยอดจะมองเห็นเมืองหลวงพระบางได้ทั้งเมืองในมุมสูง และเป็นที่ที่คนนิยมขึ้นไปรอชม พระอาทิตย์ตกดิน

วิวหลวงพระบาง จากพูสี
 พระธาตุจอมพูสี พูสีคือภูเขาของพระฤาษี หรือบางทฤษฎีก็ว่า พูสี คือพูเพื่อเป็นเกียรติเป็นศรี แก่หลวงพระบาง
พระธาตุจอมพูสี
 จุดนี้ เขาว่ากันว่าเป็นจุดที่ชมพระอาทิตย์ตกดินได้สวยที่สุดในหลวงพระบาง
นักท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ตก

พูสี
เดินลงจากพูสี มาก็จะมาเจอตลาดมืด (ตลาดกลางคืน ในภาษาลาว) เริ่มตั้งร้านกันแล้วครับ เห็นหลังคาสีๆ เพราะกลัวฝนครับ สวยไปอีกแบบ

ตลาดมืด หลวงพระบาง
 ของขายค่อนข้างซ้ำกันครับ  เดินไป ไม่เกิน 100 เมตรก็น่าจะเข้าใจได้หมดว่า มีอะไรขายบ้าง

ตลาดมืด หลวงพระบาง

ตลาดมืด หลวงพระบาง
 อาคารเป็นแบบฝรั่งเศส โคโลเนียล
ตลาดมืด หลวงพระบาง
 มีรถคล้ายๆ สามล้อบ้านเราด้วย
ตลาดมืด หลวงพระบาง
อาหารเย็นที่ร้าน The Pizza Luang Pra Bang ครับ แต่่่่่ไกด์จัดอาหารชุดมาให้อีกแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทปลา  ซึ่งจริงๆแล้ว อร่อยดีครับ 

The Pizza Luang Pra Bang

The Pizza Luang Pra Bang

The Pizza Luang Pra Bang
 สั่ง Pizza เองไปจานนึง
The Pizza Luang Pra Bang

The Pizza Luang Pra Bang
พอขึ้นวันที่สอง ไกด์ก็พาไปตักบาตรข้าวเหนียว ซึ่งการตักบาตรข้าวเหนียวนี้ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทำ โดยไกด์จะเป็นผู้จัดชุดตักบาตรให้  การตักบาตรข้าวเหนียว ต่างจากการตักบาตรที่ใช้ทัพพี เพราะเราใช้มือจกข้าว และก็เอาข้าวไปใส่ในบาตรพระที่เดินบิณฑบาต เรียงๆ กันจำนวนมาก

การตักบาตร ต้องตื่นมาตั้งแต่หกโมง ที่จริงสามารถไปตักบาตรได้ทั่วไปในหลวงพระบาง แต่ทำเลที่คนไปเยอะ คือบริเวณใจกลางเมือง ตรงถนนศรีสว่างวงศ์ และถนน ศรีสว่างวัฒนา

ตักบาตรข้าวเหนียว หลวงพระบาง
ข้อควรระวังคือ ไม่ควรใส่ของอย่างอื่นลงไปปนกับข้าวเหนียวในการตักบาตร เพราะทำเนียมของลาว หลังจากตักบาตรไปแล้ว ชาวบ้านจะเอากับข้าวไปถวายพระที่วัดอีกครั้งต่างหาก  เป็นกุศโลบายให้คนเข้าวัด  บางทีนักท่องเที่ยวเอาเงิน เอากระดาษอะไรใส่ลงไปในข้าวเหนียวด้วย ทั้งมือตัวเอง และทั้งข้าวก็จะสกปรกครับ

ข้อควรระวังอีกเรื่องคือเรื่องการถ่ายภาพ ไม่ควรถ่ายใกล้เกินไป หรือบ่อยเกินไป เป็นการบุกรุกทางวัฒนธรรมแบบหนึ่ง เพราะการตักบาตรนี้ไม่ใช่การแสดง แต่เป็นธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมานานของหลวงพระบาง 


ตักบาตรข้าวเหนียว หลวงพระบาง
หลังจากตักบาตรข้าวเหนียวแล้ว นักท่องเที่ยวก็จะนิยมไปเที่ยวตลาดสดของลาว ซึ่งเป็นตลาดจริงๆ ที่ชาวบ้านเขามาซื้อขายของกันครับ ผมแนะนำให้ไปเดินตลาดดู จะได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ

ตลาด หลวงพระบาง

ตลาด หลวงพระบาง

ตลาด หลวงพระบาง

ตลาด หลวงพระบาง

ตลาด หลวงพระบาง
จากตลาดเช้าเดินไปไม่ไกล ก็จะถึง ร้านกาแฟประชานิยม  เป็นร้านที่เปิดกิจการมากว่าสามสิบปี ทำเลตั้งอยู่ตรง ที่รถตู้ รถทัวร์ รถอะไรที่มารอรับนักท่องเที่ยว กลับจากเดินตลาดเช้า ทำให้คนเอาไปเขียนใน เวป และเป็นที่นิยมในที่สุด

ร้านกาแฟ ประชานิยม หลวงพระบาง
หลังจากนั้นนั่งรถไปนั่งเรือเพื่อไปชม ถ้ำติ่งครับ  จริงๆ นั่งเรือไปจากตรงหมายเลขหนึ่งเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่อยากนั่งเรือนาน ก็นั่งรถไปลงเรือได้ครับ ในครั้งนี้เรานั่งรถไปตรงหมายเลขสองในแผนที่แล้วนั่งเรือต่อ

ตรงท่าเทียบเรือมีขายยาดองเหล้า สัตว์มีพิษต่างๆ ซึ่งของเหล่านี้เป็นของผิดกฎหมายในเมืองไทย

ยาดองเหล้า
เราเหมาเรือเลยครับ ในรูปคือไกด์ชาวลาว
ไกด์

เรือ
ถ้ำติ่ง คือถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย ครับ ชาวลาวเรียก หินย้อย ว่า ติ่ง

ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
ถ้ำติ่งนั้นประกอบด้วยถ้ำติ่งบนและถ้ำติ่งล่าง ด้านในมีพระพุทธรูปที่คนเอามาถวายเอาไว้  ไกด์เล่าว่าในสมัยก่อนชาวลาวนับถือผี เจ้ามหาชีวิตจะมาทำพิธีที่ถ้ำติ่งนี้ในช่วงปีใหม่  ภายหลังมีการเผยแผ่พุทธศาสนาเข้ามา จึงได้มีการนำพระพุทธรูปมาไว้ในถ้ำนี้

ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
 เสานี้ไม่ใช่เสาค้ำถ้ำครับ แต่มันคือเสา ค้ำพระพุทธศาสนา
ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง

ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง

ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
ด้านบนมีอีกถ้ำหนึ่ง แต่มันมืด เลยไม่ได้ถ่ายมาครับ จะเข้าถ้ำด้านบนต้องใช้ไฟฉายส่อง ซึ่งเขามีอุปกรณ์ เตรียมไว้ให้
ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
สังเกตในรูปด้านล่างตรงกลางๆ ของภาพไปทางซ้ายจะเห็นเขา เป็นสี่เหลี่ยมๆ ตรงนั้นเขาเรียกเขาโลงศพ
ถ้ำติ่ง หลวงพระบาง
ไกด์พานั่งเรือมากินที่ฝั่งตรงข้าม
ร้านอาหารตรงข้ามถ้ำติ่ง
 ลาบปลา ของลาวนี่อร่อยมากๆ ทุกร้านเลยครับ
ลาบปลา
 ในร้านมีรูปแสดงน้ำท่วมร้าน ตอนช่วงที่จีนปล่อยน้ำมา ในช่วงที่สร้างเขื่อนอยู่ครับ ถ้ำติ่งก็ท่วมเหมือนกัน
ร้านอาหารตรงข้ามถ้ำติ่ง
หลังจากทานข้าวเสร็จ (ดูแผนที่ด้านบนประกอบ ) เราก็นั่งเรือกลับมาที่จุดสาม แล้วก็นั่งรถไปดูน้ำตก กวางสี ที่เบอร์ 4 ในแผนที่ครับ  ค่อนข้างใช้เวลามาก แม้จะไม่ไกล 

วันที่ไปน้ำแรงมากครับ  ที่เห็นในรูป เป็นน้ำตกชั้นที่สูงที่สุดที่รถเข้าถึง น้ำตกนี้เป็นน้ำตกที่ดังที่สุดในหลวงพระบาง คำว่า กวางสี หมายถึง กวางหนุ่ม ที่เขาเพิ่งงอกครับ

น้ำตกกวางสี
 กล้วยทอดลาว ขายอยู่ตรงน้ำตก ให้ความรู้สึกเหมือนกล้วยทอดฝรั่ง นี่ถ้าขึ้นห้างคงราคากระโดดไปเป็นสิบเท่าตัว

กล้วยทอดลาว
จากนั้นกลับเข้าตัวเมือง แวะร้าน Joma Bakery cafe ครับ  ร้านนี้อยู่ในตัวเมืองหลวงพระบาง อยู่ใกล้ที่เที่ยว เรียกว่าเดินดูวัด แล้วก็แวะมานั่งพัก เล่น net ทานกาแฟได้ที่ร้านนี้ guide book บอกเป็นหนึ่งในร้านที่ต้องลอง แต่ว่า ไกด์ลาว บอกว่าเป็นร้านที่นักท่องเที่ยวชอบมา

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง
ชื่อ Joma มาจากชื่อหุ้นส่วนสี่คนมารวมกัน ปัจจุบันมีหลายสาขา ทั้งในหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และฮานอย  เมนูที่นิยมมีทั้งอาหารเช้า และอาหารว่างยามบ่าย

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง

Joma Bakery cafe หลวงพระบาง


Joma Bakery cafe หลวงพระบาง
เย็นไปลองร้านดังอีกร้านหนึ่งครับ คือร้านอาหารฝรั่งเศส L'Elephant   คนลาวไม่กินข้าวนอกบ้าน ถ้าถามถึงร้านอาหารลาว ที่อร่อยๆ อาจมีหลายร้าน แต่ถ้าถามถึงร้านอาหารฝรั่งเศสที่หลวงพระบางนั้น ไกด์บอกว่ามีแค่สองร้านเท่านั้น และร้านที่ฮิตกว่า อร่อยกว่าก็คือร้าน L'Elephant ครับ

ร้านอยู่ในอาคารทรงโคโลเนียล

L' Elephant
L' Elephant
อาหารมีทั้งที่เป็น set และสั่งเป็นจานๆ  แต่มากับทัวร์ เขาจัดเป็น ชุดมาให้ แต่ก็สามารถเลือก ได้ครับ

L' Elephant Luang PraBang
 หน้าตาของอาหารเป็นประมาณนี้  มีความเห็นว่ารสชาติ ของร้านที่ไทย นำหน้าไปอยู่ครับ

L' Elephant Luang PraBang


L' Elephant Luang PraBang

L' Elephant Luang PraBang

L' Elephant Luang PraBang
 วันที่สาม จะบินกลับตอนเที่ยงครับ สถานที่ที่ไป ก็จะเป็นวัดที่อยู่ในเขตตัวเมือง  เริ่มด้วยวัดวิชุนราช  วัดนี้มีความสำคัญ เพราะเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์สำคัญ เช่น พระบาง  พระแก้วมรกต  ปัจจุบัน สภาพวัดที่เห็น เป็นวัดที่บูรณขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2547 สมัยพระเจ้าสักกะริน

วัดวิชุนราช

วัดวิชุนราช

วัดวิชุนราช

จุดเด่นของวัดนี้ คือเจดีย์ประทุม หรือพระธาตุดอกบัวใหญ่ หรือพระธาตุทรงแตงโม  หรือพระธาตุหมากโม ครับ

พระธาตุหมากโม วัดวิชุนราช

พระธาตุหมากโม วัดวิชุนราช
วัดวิชุนราช อยู่ติดกันกับวัดอาฮาม หรือวัดอาฮามอุตะมะทานี โดยมีประตู้ซุ้มโขงที่เก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบางขั้นเขตวัดอยู่  ( แต่ผมดันไม่มีรูปประตูซุ้มโขงครับ ) 

เหรียญลาว สมัยฝรั่งเศส
 วัดอาฮาม
วัดอาฮาม
แต่เดิมลาวนับถือผี นับถือปู่เยอ ย่าเยอ มาก่อนที่จะนับถือพระพุทธศาสนา ครั้นลาวเปลี่ยนมาเป็นนับถือพุทธ และย้ายศาลปู่เยอ ย่าเยอ ออกไป เกิดผู้คนล้มตายโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงได้สร้างวัดอาฮาม และบ้านปู่เยอ ย่าเยอ ไว้ข้างๆ กับวัดวิชุนราช  และชุดปู่เยอ ย่าเยอ ถูกเก็บไว้ในบ้านนี้ จะใช้นำออกมาใส่ในช่วงสงกรานต์เท่านั้น โดยผู้ใส่ ต้องมาจากคนเชื่อสายเดียวกันที่สืบทอดกันมาเท่านั้น

ส่วนสิงโต ที่เห็นอยู่ตรงกลางนั้น เป็นสัตว์ที่ปู่เยอ ย่าเยอ เอามาเลี้ยงไว้เป็นลูก เพื่อปกปักษ์รักษา  ชาวลาวเคารพปู่เยอ ย่าเยอ และศักดิ์สิทธิมาก ดังนั้นอย่าลบหลู่ท่านนะครับ

ปู่เยอ ย่าเยอ
วัดสุดท้ายที่ไปแล้วครับ  คือ วัดใหม่สุวรรณภูมาราม วัดหาไม่ยาก เพราะคือวัดที่ติดกับถนนคนเดิน บนถนนศรีสว่างวงศ์ เลยครับ หรือลงจากพูสีมา ก็เห็น วัดนี้แหละ

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
แบงค์เก่า ที่ไม่ใช้แล้ว เอามาทำเป็นคล้ายๆธง ไว้สำหรับให้คนตาย

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
หมดแล้วครับ ไปหลวงพระบางครั้งนี้ มีเท่านี้แหละครับ  ข้อแนะนำก่อนจะจบบทความนี้ คือ ที่ลาวรับเงิน สกุลไทย ด้วยครับ แต่ถ้าเอาแบงค์ใหญ่ๆ ไป เขาจะทอนมาเป็นเงินลาวเยอะเลย ดังนั้นควรเอา แบงค์ร้อย แบงค์ยี่สิบไทย ไปเยอะหน่อย    แล้วก็ขากลับไกด์อาจจะพาไปแวะซื้อผ้าไหม ซึ่งคุณภาพดีครับ  แต่เขาไม่รับ credit card ดังนั้น ตรงนี้เตรียมแบงค์ไทยใบใหญ่ๆ ไว้จ่ายครับ

สรุป ผมไปหลวงพระบาง ผมสนุกดีครับ ชอบตรงที่เขารักษาวัฒนธรรมไว้ได้ดีมาก รถก็ไม่เยอะ อากาศก็ยังดีอยู่ครับ   ผมไม่ชอบให้มีร้านกลางคืนไปเปิดที่ไหนเลยครับ ขอให้รักษาไว้ได้เช่นนี้ไปนานๆ